งานที่เกี่ยวข้องกับความร้อน เช่น งานเชื่อม ตัด เจียร หรือแม้แต่งานในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง เป็นงานที่มีความเสี่ยงสูงต่อการบาดเจ็บจากความร้อน ประกายไฟ หรือแม้แต่รังสีความร้อน ดังนั้นการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE: Personal Protective Equipment) ที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการลดความเสี่ยงและเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ปฏิบัติงาน
อุปกรณ์ PPE คืออะไร
PPE (Personal Protective Equipment) หรือ “อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล” คือ อุปกรณ์ที่ใช้ปกป้องผู้ปฏิบัติงานจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน เช่น การหกล้ม การบาดเจ็บจากเครื่องมือ หรือการสัมผัสกับสารเคมีอันตราย ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้มีความสำคัญในการลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บหรือโรคจากการทำงาน โดยทั่วไปแล้ว PPE ประกอบด้วยหมวกกันน็อก ถุงมือ รองเท้าเซฟตี้ แว่นตานิรภัย หรือหน้ากากอนามัย ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่ทำ
ในการทำงานเชื่อม (Welding) การใช้ PPE เป็นสิ่งที่ทุกองค์กรต้องจัดเตรียมให้พนักงาน เพราะงานเชื่อมมีความเสี่ยงสูงจากหลายปัจจัย เช่น ความร้อนสูง แสงไฟจากการเชื่อมที่สามารถทำให้ตาบอด หรือควันและฝุ่นที่เกิดจากการเชื่อม ที่อาจเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ งานเชื่อมนอกจากจะส่งผลต่อสุขภาพของพนักงานแล้วประกายไฟ ที่เกิดขึ้นก็มีความเสี่ยง ต่อการเกิดไฟไหม้ จึงทำให้มีตำแหน่งานโดยเฉพาะของโรงงานขึ้นมา
หนึ่งในหน้าที่ที่สำคัญในการป้องกันอันตรายจากไฟไหม้ในที่ทำงาน คือ ผู้เฝ้าระวังไฟ (Fire Watch Man) ที่มีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยในการทำงานที่มีความเสี่ยงจากไฟ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานเชื่อมที่มีประกายไฟและความร้อนสูง ผู้เฝ้าระวังไฟจะคอยสังเกตและคอยตัดสินใจหากมีเหตุการณ์ที่อาจเกิดเพลิงไหม้ เพื่อให้สามารถดำเนินการช่วยเหลือหรือแจ้งเตือนได้ทันที
6 อุปกรณ์ PPE การทำงานเชื่อมที่ต้องมี
1. หน้ากากเชื่อมและแว่นตานิรภัย (Welding Helmet & Safety Goggles)
หน้ากากเชื่อมและแว่นตานิรภัย เป็นอุปกรณ์ป้องกันสำหรับผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อม เช่น การเชื่อมเหล็ก หรือการทำงานที่เกี่ยวข้องกับแสงไฟจากการเชื่อม เพื่อป้องกันอันตรายจากแสงจ้า, สารพิษ, และฝุ่นละอองที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการเชื่อม
ทำไมต้องใช้?
-
- ป้องกันดวงตาและใบหน้าจากแสงจ้าของงานเชื่อม
- ลดความเสี่ยงจากสะเก็ดไฟและประกายไฟที่อาจกระเด็นเข้าตา
- ป้องกันการสัมผัสโดยตรงกับรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) และอินฟราเรด (IR) จากงานเชื่อมโลหะ
ประเภทของหน้ากากเชื่อม
-
- แบบเลนส์ตายตัว: เหมาะสำหรับงานที่ใช้กระบวนการเชื่อมแบบเดิม ๆ
- แบบปรับแสงอัตโนมัติ (Auto-darkening): ปรับระดับความมืดของเลนส์โดยอัตโนมัติเพื่อลดความเมื่อยล้าของสายตา
- แว่นตานิรภัยสำหรับงานเจียรหรืองานตัด: ควรเลือกที่มีคุณสมบัติกันกระแทกและกันความร้อน
2. ถุงมือป้องกันความร้อน (Heat-resistant Gloves)
ถุงมือป้องกันความร้อน เป็นอุปกรณ์ป้องกันมือที่ออกแบบมา เพื่อป้องกันการสัมผัสกับความร้อนจากการทำงาน ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง เช่น การหลอมโลหะ การเชื่อม หรือการทำงานใกล้แหล่งความร้อน
ทำไมต้องใช้?
-
- ป้องกันมือจากความร้อนโดยตรงขณะจับชิ้นงานที่ร้อน
- ลดความเสี่ยงจากประกายไฟที่กระเด็นโดนมือ
- ป้องกันอันตรายจากสารเคมีที่อาจร้อนจัด
ประเภทของถุงมือที่เหมาะกับงานความร้อน
-
- ถุงมือหนังทนความร้อน: เหมาะสำหรับงานเชื่อมและงานที่ต้องสัมผัสกับโลหะร้อนโดยตรง
- ถุงมือเคลือบฉนวนกันความร้อน: เหมาะกับงานที่ต้องสัมผัสกับแหล่งความร้อนเป็นเวลานาน
3. ชุดป้องกันความร้อน (Heat-resistant Clothing)
ชุดป้องกันความร้อน เป็นชุดที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการสัมผัสกับความร้อนสูง ซึ่งมักใช้ในอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงจากความร้อน เช่น การหลอมโลหะ การเชื่อม หรือการทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง
ทำไมต้องใช้?
-
- ป้องกันผิวหนังจากการสัมผัสความร้อนโดยตรง
- ลดโอกาสเกิดแผลไฟลวก จากประกายไฟ
- ป้องกันการติดไฟของเสื้อผ้าหากเกิดเหตุฉุกเฉิน
ประเภทของชุดป้องกัน
-
- เสื้อและกางเกงผ้าหนังหรือผ้าทนไฟ (FR: Flame Resistant Clothing): ควรเลือกใช้เสื้อผ้าที่มีคุณสมบัติกันไฟ เช่น เสื้อเชื่อมหนัง หรือชุดที่มีมาตรฐาน EN ISO 11612
- เอี๊ยมป้องกันประกายไฟ (Welding Apron): ใช้เสริมการป้องกันโดยเฉพาะบริเวณลำตัว
4. รองเท้าเซฟตี้กันความร้อน (Heat-resistant Safety Shoes)
รองเท้าเซฟตี้กันความร้อน เป็นรองเท้าที่ออกแบบมา เพื่อปกป้องเท้าจากอันตรายที่เกิดจากความร้อนสูง ซึ่งมักใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีความร้อน เช่น โรงงานที่เกี่ยวข้องกับการหลอมโลหะ การเชื่อม หรือการทำงานในพื้นที่ที่มีความร้อนมาก
ทำไมต้องใช้?
-
- ป้องกันเท้าจากประกายไฟและโลหะร้อนที่อาจตกลงมา
- ลดความเสี่ยงจากพื้นร้อนหรือสารเคมีที่อาจหกรั่วไหล
- ลดอาการลื่นจากน้ำมันหรือเศษโลหะที่กระเด็นออกมา
ลักษณะของรองเท้าที่เหมาะสม
-
- รองเท้าหนังหุ้มข้อกันความร้อน: ควรเลือกแบบที่มีพื้นกันลื่นและทนต่อความร้อนสูง
- รองเท้าที่มีปลอกหุ้มโลหะ (Steel Toe Cap): ป้องกันการบาดเจ็บจากวัตถุตกกระแทก
5. ที่ครอบหูป้องกันเสียง (Ear Muffs)
ที่ครอบหูป้องกันเสียง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อปกป้องหูจากเสียงดัง ที่อาจทำให้เกิดความเสียหายทางการได้ยิน
ทำไมต้องใช้?
-
- งานที่มีความร้อนสูงมักเกิดเสียงดัง เช่น การเชื่อม การตัด และการเจียร
- ป้องกันการสูญเสียการได้ยินจากเสียงเครื่องมือ
- ป้องกันใบหูจากไอร้อนที่อาจทำให้ผิวหนังไหม้
ประเภทของที่ครอบหู
-
- Ear Muffs: ที่ครอบหูที่ช่วยลดเสียงรบกวนจากเครื่องมือไฟฟ้า
- Ear Plugs: ปลั๊กอุดหูที่ใช้สำหรับลดเสียงในบริเวณที่มีเสียงดังมาก
ระดับเสียงของงานที่เกี่ยวข้องกับความร้อนสูง เช่น การเชื่อม การตัด และการเจียร มีค่าประมาณนี้:
-
- เชื่อมโลหะ (Welding): 85 – 105 เดซิเบล (dB)
- ตัดโลหะด้วยแก๊ส (Oxy-fuel Cutting): 90 – 110 เดซิเบล (dB)
- เจียรโลหะ (Grinding): 95 – 115 เดซิเบล (dB)
- ตัดโลหะด้วยพลาสมา (Plasma Cutting): 100 – 120 เดซิเบล (dB)
หากระดับเสียงเกิน 85 dB และต้องทำงานในบริเวณนั้นเป็นเวลานาน แนะนำให้ใช้ ที่ครอบหูป้องกันเสียง (Ear Muffs) หรือ ปลั๊กอุดหู (Ear Plugs) เพื่อลดปัญหาสุขภาพด้านหู ที่ส่งผลต่อการได้ยินเสียง ที่เรามักพบได้บ่อย อย่าง อาการหูหนวก
6. หน้ากากกันฝุ่นและไอโลหะ (Respiratory Protection)
หน้ากากกันฝุ่นและไอโลหะ เป็นอุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจที่ออกแบบมา เพื่อป้องกันการสูดดมฝุ่นละอองและไอโลหะที่อาจเกิดขึ้นในขณะทำงาน เช่น งานเชื่อม, การเจียร, การพ่นทราย, หรือกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับโลหะ หน้ากากชนิดนี้มีคุณสมบัติในการป้องกันสารพิษ ที่สามารถทำลายสุขภาพและระบบหายใจของผู้สวมใส่
ทำไมต้องใช้?
-
- งานที่มีความร้อนสูง เช่น เชื่อมโลหะและเจียร อาจทำให้เกิดไอโลหะและฝุ่นที่เป็นอันตราย
- ป้องกันการสูดดมสารเคมีที่เป็นพิษจากควันโลหะ
- ลดความเสี่ยงของโรคปอดจากการสูดดมฝุ่นโลหะหนัก
ประเภทของหน้ากากที่แนะนำ
-
- หน้ากาก N95 หรือ P100: ใช้กรองฝุ่นและไอโลหะที่เป็นพิษ
- หน้ากากแบบมีตัวกรองอากาศ (Powered Air-Purifying Respirator – PAPR): ใช้ในงานที่มีปริมาณควันมากเพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพ
สรุป
อุปกรณ์ PPE สำหรับงานเชื่อม ที่มีความร้อนเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยลดความเสี่ยงจากความร้อนสูง ไอโลหะ และประกายไฟที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ การเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมตามประเภทของงาน จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน และลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ดังนั้นควรสวมใส่ PPE ทุกครั้งก่อนเริ่มงานเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและปลอดภัยทั้งต่อพนักงาน และองค์กรเอง ในองค์กรที่มีผู้เฝ้าระวังไฟ จะเป็นผุ้ที่มีหน้าที่คอยดูแลในส่วนของการทำงานที่อาจมีความเสี่ยง รวมถึงการจัดการอึปกรณ์ PPE ให้เหมาะกับงานที่ต้องใช้ความร้อน ไม่ว่าจะเป็นงานเชื่อม งานตัด งานเจียรไน
ซึ่งผู้ที่จะเป็น ผู้เฝ้าระวังไฟได้นั้น ต้องมีการเตรียมความพร้อมจากการอบรมผู้เฝ้าระวังไฟ ก่อนปฏิบัติงาน
ติดต่อสอบถาม : (064) 958 7451 ตุณแนน / เมล : [email protected]