PPE งานเชื่อมที่มืออาชีพต้องใช้ อุปกรณ์เซฟตี้สำหรับงานประกายไฟ

by pam
57 views

งานที่เกี่ยวข้องกับความร้อน เช่น งานเชื่อม ตัด เจียร หรือแม้แต่งานในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง เป็นงานที่มีความเสี่ยงสูงต่อการบาดเจ็บจากความร้อน ประกายไฟ หรือแม้แต่รังสีความร้อน ดังนั้นการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE: Personal Protective Equipment) ที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการลดความเสี่ยงและเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ปฏิบัติงาน

อุปกรณ์ PPE คืออะไร

PPE (Personal Protective Equipment) หรือ “อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล” คือ อุปกรณ์ที่ใช้ปกป้องผู้ปฏิบัติงานจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน เช่น การหกล้ม การบาดเจ็บจากเครื่องมือ หรือการสัมผัสกับสารเคมีอันตราย ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้มีความสำคัญในการลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บหรือโรคจากการทำงาน โดยทั่วไปแล้ว PPE ประกอบด้วยหมวกกันน็อก ถุงมือ รองเท้าเซฟตี้ แว่นตานิรภัย หรือหน้ากากอนามัย ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่ทำ

ในการทำงานเชื่อม (Welding) การใช้ PPE เป็นสิ่งที่ทุกองค์กรต้องจัดเตรียมให้พนักงาน เพราะงานเชื่อมมีความเสี่ยงสูงจากหลายปัจจัย เช่น ความร้อนสูง แสงไฟจากการเชื่อมที่สามารถทำให้ตาบอด หรือควันและฝุ่นที่เกิดจากการเชื่อม ที่อาจเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ งานเชื่อมนอกจากจะส่งผลต่อสุขภาพของพนักงานแล้วประกายไฟ ที่เกิดขึ้นก็มีความเสี่ยง ต่อการเกิดไฟไหม้ จึงทำให้มีตำแหน่งานโดยเฉพาะของโรงงานขึ้นมา

หนึ่งในหน้าที่ที่สำคัญในการป้องกันอันตรายจากไฟไหม้ในที่ทำงาน คือ ผู้เฝ้าระวังไฟ (Fire Watch Man) ที่มีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยในการทำงานที่มีความเสี่ยงจากไฟ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานเชื่อมที่มีประกายไฟและความร้อนสูง ผู้เฝ้าระวังไฟจะคอยสังเกตและคอยตัดสินใจหากมีเหตุการณ์ที่อาจเกิดเพลิงไหม้ เพื่อให้สามารถดำเนินการช่วยเหลือหรือแจ้งเตือนได้ทันที

6 อุปกรณ์ PPE การทำงานเชื่อมที่ต้องมี

Welding Helmet

1. หน้ากากเชื่อมและแว่นตานิรภัย (Welding Helmet & Safety Goggles)

หน้ากากเชื่อมและแว่นตานิรภัย เป็นอุปกรณ์ป้องกันสำหรับผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อม เช่น การเชื่อมเหล็ก หรือการทำงานที่เกี่ยวข้องกับแสงไฟจากการเชื่อม เพื่อป้องกันอันตรายจากแสงจ้า, สารพิษ, และฝุ่นละอองที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการเชื่อม

ทำไมต้องใช้?

    • ป้องกันดวงตาและใบหน้าจากแสงจ้าของงานเชื่อม
    • ลดความเสี่ยงจากสะเก็ดไฟและประกายไฟที่อาจกระเด็นเข้าตา
    • ป้องกันการสัมผัสโดยตรงกับรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) และอินฟราเรด (IR) จากงานเชื่อมโลหะ

ประเภทของหน้ากากเชื่อม

    • แบบเลนส์ตายตัว: เหมาะสำหรับงานที่ใช้กระบวนการเชื่อมแบบเดิม ๆ
    • แบบปรับแสงอัตโนมัติ (Auto-darkening): ปรับระดับความมืดของเลนส์โดยอัตโนมัติเพื่อลดความเมื่อยล้าของสายตา
    • แว่นตานิรภัยสำหรับงานเจียรหรืองานตัด: ควรเลือกที่มีคุณสมบัติกันกระแทกและกันความร้อน

2. ถุงมือป้องกันความร้อน (Heat-resistant Gloves)

ถุงมือป้องกันความร้อน เป็นอุปกรณ์ป้องกันมือที่ออกแบบมา เพื่อป้องกันการสัมผัสกับความร้อนจากการทำงาน ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง เช่น การหลอมโลหะ การเชื่อม หรือการทำงานใกล้แหล่งความร้อน

ทำไมต้องใช้?

    • ป้องกันมือจากความร้อนโดยตรงขณะจับชิ้นงานที่ร้อน
    • ลดความเสี่ยงจากประกายไฟที่กระเด็นโดนมือ
    • ป้องกันอันตรายจากสารเคมีที่อาจร้อนจัด

ประเภทของถุงมือที่เหมาะกับงานความร้อน

    • ถุงมือหนังทนความร้อน: เหมาะสำหรับงานเชื่อมและงานที่ต้องสัมผัสกับโลหะร้อนโดยตรง
    • ถุงมือเคลือบฉนวนกันความร้อน: เหมาะกับงานที่ต้องสัมผัสกับแหล่งความร้อนเป็นเวลานาน

Heat-resistant Clothing

3. ชุดป้องกันความร้อน (Heat-resistant Clothing)

ชุดป้องกันความร้อน เป็นชุดที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการสัมผัสกับความร้อนสูง ซึ่งมักใช้ในอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงจากความร้อน เช่น การหลอมโลหะ การเชื่อม หรือการทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง

ทำไมต้องใช้?

    • ป้องกันผิวหนังจากการสัมผัสความร้อนโดยตรง
    • ลดโอกาสเกิดแผลไฟลวก จากประกายไฟ
    • ป้องกันการติดไฟของเสื้อผ้าหากเกิดเหตุฉุกเฉิน

ประเภทของชุดป้องกัน

    • เสื้อและกางเกงผ้าหนังหรือผ้าทนไฟ (FR: Flame Resistant Clothing): ควรเลือกใช้เสื้อผ้าที่มีคุณสมบัติกันไฟ เช่น เสื้อเชื่อมหนัง หรือชุดที่มีมาตรฐาน EN ISO 11612
    • เอี๊ยมป้องกันประกายไฟ (Welding Apron): ใช้เสริมการป้องกันโดยเฉพาะบริเวณลำตัว

4. รองเท้าเซฟตี้กันความร้อน (Heat-resistant Safety Shoes)

รองเท้าเซฟตี้กันความร้อน เป็นรองเท้าที่ออกแบบมา เพื่อปกป้องเท้าจากอันตรายที่เกิดจากความร้อนสูง ซึ่งมักใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีความร้อน เช่น โรงงานที่เกี่ยวข้องกับการหลอมโลหะ การเชื่อม หรือการทำงานในพื้นที่ที่มีความร้อนมาก

ทำไมต้องใช้?

    • ป้องกันเท้าจากประกายไฟและโลหะร้อนที่อาจตกลงมา
    • ลดความเสี่ยงจากพื้นร้อนหรือสารเคมีที่อาจหกรั่วไหล
    • ลดอาการลื่นจากน้ำมันหรือเศษโลหะที่กระเด็นออกมา

ลักษณะของรองเท้าที่เหมาะสม

    • รองเท้าหนังหุ้มข้อกันความร้อน: ควรเลือกแบบที่มีพื้นกันลื่นและทนต่อความร้อนสูง
    • รองเท้าที่มีปลอกหุ้มโลหะ (Steel Toe Cap): ป้องกันการบาดเจ็บจากวัตถุตกกระแทก

Ear Muffs

5. ที่ครอบหูป้องกันเสียง (Ear Muffs)

ที่ครอบหูป้องกันเสียง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อปกป้องหูจากเสียงดัง ที่อาจทำให้เกิดความเสียหายทางการได้ยิน

ทำไมต้องใช้?

    • งานที่มีความร้อนสูงมักเกิดเสียงดัง เช่น การเชื่อม การตัด และการเจียร
    • ป้องกันการสูญเสียการได้ยินจากเสียงเครื่องมือ
    • ป้องกันใบหูจากไอร้อนที่อาจทำให้ผิวหนังไหม้

ประเภทของที่ครอบหู

    • Ear Muffs: ที่ครอบหูที่ช่วยลดเสียงรบกวนจากเครื่องมือไฟฟ้า
    • Ear Plugs: ปลั๊กอุดหูที่ใช้สำหรับลดเสียงในบริเวณที่มีเสียงดังมาก

ระดับเสียงของงานที่เกี่ยวข้องกับความร้อนสูง เช่น การเชื่อม การตัด และการเจียร มีค่าประมาณนี้:

    • เชื่อมโลหะ (Welding): 85 – 105 เดซิเบล (dB)
    • ตัดโลหะด้วยแก๊ส (Oxy-fuel Cutting): 90 – 110 เดซิเบล (dB)
    • เจียรโลหะ (Grinding): 95 – 115 เดซิเบล (dB)
    • ตัดโลหะด้วยพลาสมา (Plasma Cutting): 100 – 120 เดซิเบล (dB)

หากระดับเสียงเกิน 85 dB และต้องทำงานในบริเวณนั้นเป็นเวลานาน แนะนำให้ใช้ ที่ครอบหูป้องกันเสียง (Ear Muffs) หรือ ปลั๊กอุดหู (Ear Plugs) เพื่อลดปัญหาสุขภาพด้านหู ที่ส่งผลต่อการได้ยินเสียง ที่เรามักพบได้บ่อย อย่าง อาการหูหนวก


6. หน้ากากกันฝุ่นและไอโลหะ (Respiratory Protection)

หน้ากากกันฝุ่นและไอโลหะ เป็นอุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจที่ออกแบบมา เพื่อป้องกันการสูดดมฝุ่นละอองและไอโลหะที่อาจเกิดขึ้นในขณะทำงาน เช่น งานเชื่อม, การเจียร, การพ่นทราย, หรือกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับโลหะ หน้ากากชนิดนี้มีคุณสมบัติในการป้องกันสารพิษ ที่สามารถทำลายสุขภาพและระบบหายใจของผู้สวมใส่

ทำไมต้องใช้?

    • งานที่มีความร้อนสูง เช่น เชื่อมโลหะและเจียร อาจทำให้เกิดไอโลหะและฝุ่นที่เป็นอันตราย
    • ป้องกันการสูดดมสารเคมีที่เป็นพิษจากควันโลหะ
    • ลดความเสี่ยงของโรคปอดจากการสูดดมฝุ่นโลหะหนัก

ประเภทของหน้ากากที่แนะนำ

    • หน้ากาก N95 หรือ P100: ใช้กรองฝุ่นและไอโลหะที่เป็นพิษ
    • หน้ากากแบบมีตัวกรองอากาศ (Powered Air-Purifying Respirator – PAPR): ใช้ในงานที่มีปริมาณควันมากเพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพ

สรุป

อุปกรณ์ PPE สำหรับงานเชื่อม ที่มีความร้อนเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยลดความเสี่ยงจากความร้อนสูง ไอโลหะ และประกายไฟที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ การเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมตามประเภทของงาน จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน และลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ดังนั้นควรสวมใส่ PPE ทุกครั้งก่อนเริ่มงานเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและปลอดภัยทั้งต่อพนักงาน และองค์กรเอง ในองค์กรที่มีผู้เฝ้าระวังไฟ จะเป็นผุ้ที่มีหน้าที่คอยดูแลในส่วนของการทำงานที่อาจมีความเสี่ยง รวมถึงการจัดการอึปกรณ์ PPE ให้เหมาะกับงานที่ต้องใช้ความร้อน ไม่ว่าจะเป็นงานเชื่อม งานตัด งานเจียรไน

ซึ่งผู้ที่จะเป็น ผู้เฝ้าระวังไฟได้นั้น ต้องมีการเตรียมความพร้อมจากการอบรมผู้เฝ้าระวังไฟ ก่อนปฏิบัติงาน

ติดต่อสอบถาม : (064) 958 7451 ตุณแนน / เมล : [email protected]

เรื่องยอดนิยม

ศูนย์ฝึกอบรมความปลอดภัย บริการอบรมผู้เฝ้าระวังไฟ พร้อมทีมงานมืออาชีพ เปิดอบรมแบบอินเฮ้าส์ ครอบคลุมทุก 77 จังหวัดทั่วประเทศ

ติดต่อ

สำนักงาน

349 อาคารเอสเจ อินฟินิท วัน บิสซิเนส คอมเพล็กซ์ ชั้น 23 ถนน วิภาวดี รังสิต, แขวง จอมพล, เขต จตุจักร, กรุงเทพฯ 10900

โทรศัพท์

(064) 958 7451 (คุณแนน)

อีเมล

[email protected]

Copyright @2025  อบรมผู้เฝ้าระวังไฟ Developed website and SEO by iPLANDIT